หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

มาตรฐานผลการเรียนรู้ของบัณฑิตศิลปกรรม

มาตรฐานผลการเรียนรู้ หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต  สาขาวิชาศิลปกรรม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม 2554

โดย ประชิด ทิณบุตร

1.ทักษะคุณธรรมและจริยธรรม ที่ต้องการพัฒนา
  1.1 ตระหนักรู้ในคุณค่าและรักษา คุณธรรม  จริยธรรม  จรรยาบรรณวิชาชีพทางศิลปกรรม
  1.2 มีระเบียบวินัย  ตรงต่อเวลา  และรับผิดชอบต่อตนเองและผู้อื่น
  1.3.เป็นผู้รู้และปฏิบัติตามกฏ กติกา มารยาททางสังคม ด้วยความซี่อสัตย์ สุจริต และจัดลำดับความสำคัญได้อย่างมีหลักการและเหตุผล
  1.4. เคารพสิทธิ ศักยภาพ ยอมรับความแตกต่างระหว่างบุคคล พร้อมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นและยึดมั่นในหลักประชาธิปไตย
  1. 5. การเคารพและใช้กฎ ระเบียบ ข้อบังคับต่างๆตามกฏหมายของสังคมอย่างถูกต้อง เป็นธรรม มีส่วนร่วมรับผิดชอบในฐานะของผู้คิดริเริ่ม ผู้สร้างสรรค์ ผู้นำเสนอเผยแผ่และพัฒนาผลงานศิลปกรรมสู่สังคม
  1. 6. เคารพ นับถือ เห็นคุณค่า พิทักษ์รักษา สืบสานประสานผลประโยชน์ ต่อวงการสร้างสรรค์ศิลปกรรมทั้งระดับประเทศและสากลประเทศ

2.ทักษะความรู้ ที่ต้องการเน้น ที่ต้องการพัฒนา
  2.1 มีความรู้และความเข้าใจ เกี่ยวกับหลักการและทฤษฎีที่สำคัญในเนื้อหาทางศิลปกรรมตามสาขา หรือแขนงที่ศึกษาทั้งในแนวกว้างและลึก
  2.2 สามารถประยุกต์ใช้องค์ความรู้  บูรณาการเนื้อหาและเทคนิควิธีจัดการงาน ให้สัมพันธ์สอดคล้องกับการใช้เครื่องมือ วัสดุอุปกรณ์ที่เหมาะสมกับกระบวนการคิดสร้างสรรค์
  2.3 มีความตระหนักรู้  ความพยายามในการพัฒนาผลงาน ด้วยการใฝ่พัฒนาตน ฝึกฝนทักษะความชำนาญทางศิลปกรรมอย่างต่อเนื่อง
  2. 4. สามารถปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์และวิสัยทัศน์ในการทำงานสร้างสรรค์ ให้เหมาะสมกับสภาพการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เศรษฐกิจ การเมือง และผลกระทบของวิทยาการทางเทคโนโลยีสารสนเทศ
  2.5.สามารถบูรณาการความรู้ในศาสตร์ทางศิลปกรรมร่วมกับความรู้ในศาสตร์สาขาอื่นๆที่เกี่ยวข้องได้
3.ทักษะทางปัญญา ที่ต้องการพัฒนา
  3.1.สามารถแสดงผลการคิดวิเคราะห์ปัญหา  เข้าใจและจดจำลำดับขั้นตอนวิธีการสร้างสรรค์ผลงานได้อย่างถูกวิธี มีการอรรถาธิบาย ด้วยการใช้สื่อและสาร ผ่านการแสดงออกอย่างชาญฉลาด เหมาะสม งดงามตามวัตถุประสงค์และหลักการทางศิลปกรรมอย่างเป็นระบบ
  3.2.สามารถใช้ทักษะชำนาญการทางศิลปกรรมผสานสัมพันธ์กับระดับสติปัญญา เพื่อสื่อแสดงการสืบค้น  การเสนอแนวทางแก้ไขปัญหา ด้วยการสื่อความหมาย การตีความ การวิพากษ์วิจารณ์ได้อย่างสร้างสรรค์ และอย่างเป็นผู้รู้ตามระดับสติปัญญา
  3.3.สามารถประยุกต์ใช้ความรู้ ทักษะปฏิบัติการทางวิชาชีพศิลปกรรมและการบริหารจัดการงานด้วยภูมิปัญญาแห่ง ตน ภูมิปัญญาไทยและความรู้ร่วมสมัยสากลได้อย่างเหมาะสม
  3.4.มีความสามารถในการนำเสนอและเผยแพร่ผลงานที่สร้างสรรค์ สู่สาธารณะและสากล หรือเพื่อสร้างโอกาสการอาชีพ ได้อย่างสอดคล้องกับภาวะการณ์ สถานการณ์และระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่เกี่ยวข้อง
4.ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ที่ต้องพัฒนา
  4.1.มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี  สามารถทำงานเป็นทีม สามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและจัดลำดับความสำคัญอย่างมีหลักการและเหตุผล
  4.2.มีทักษะด้านมนุษยสัมพันธ์ที่ดีในกลุ่มทำงาน ในทุกสถานการณ์ของบทบาทผู้นำและผู้ตาม การควบคุมอารมณ์ การปฏิบัติตนและความรับผิดชอบในภาระงานที่ได้รับมอบหมาย
  4.3.มีทักษะในการบริหารจัดการบุคลิกภาพส่วนตน การปรับปรุงตน และกล้าแสดงออกทั้งการคิดและการแสดงออกทางพฤติกรรมในทางสร้างสรรค์ มีจิตสาธารณะและรู้รักษาผลประโยชน์ส่วนรวม
  4. 4.รู้จักวางแผนกิจกรรมและโครงงาน โดยมีความรับผิดชอบในการดำเนินการ การตรงต่อกำหนดเวลานัดหมาย การสรุปผลการเรียนรู้ทั้งของตนเองและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันกับผู้ อื่นทั้งทางตรงและทางอ้อม
5.ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข  การสื่อสาร  และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ต้องการพัฒนา
  5.1.มีทักษะความสามารถในการคิดคำนวณต้นทุน-กำไร การกำหนดระยะเวลาการดำเนินการผลิตผลงาน การประมาณราคาค่าวัสดุ การคิดค่าบริการความคิดสร้างสรรค์และการว่าจ้างผลิตผลงาน ตามแบบอย่างการประกอบวิชาชีพหรือการบริการด้านศิลปกรรม
  5.2. มีทักษะในการสื่อสาร การสื่อความหมายและการถ่ายทอดความคิดสร้างสรรค์ ด้วยการใช้ภาษาสัญลักษณ์ทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม รูปแบบ และในผลงานที่สร้างสรรค์ไทยและภาษาต่างประเทศอย่างมีประสิทธิภาพและทราบกาละ เทศะทั้งแบบโดยตรงและโดยอ้อม
  5.3. มีทักษะในการติดต่อสื่อสารทั้งทางการสนทนา การฟัง การอ่าน การแปล  การเขียนสรุปประเด็นความคิด และการนำเสนอผลงานตามกระบวนการและขั้นตอนการสร้างสรรค์ ด้วยภาษาไทยและหรือภาษาสากล เพื่อการติดต่อประสานงานกับผู้เกี่ยวข้องด้านการวางแผน อำนวยการ การบริหารจัดการงานในสายงานการผลิต การจัดจำหน่ายและหรือการบริการ ได้เหมาะสมกับความรับผิดชอบของภาระงาน
  5.4.มีทักษะการใช้งานระบบคอมพิวเตอร์เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างเหมาะสมและ ร่วมสมัย รู้จักปรับประยุกต์ใช้ เพื่อการส่งเสริมสนับสนุนกระบวนการคิด กระบวนการสร้างสรรค์ กระบวนการนำเสนอและเผยแผ่ได้อย่างเหมาะสมและอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
6.ทักษะปฏิบัติการทางวิชาชีพศิลปกรรม ที่ต้องการพัฒนา
  6.1 มีทักษะฝีมือ ความถนัดและความชำนาญพิเศษทางศิลปกรรม ในศาสตร์สาขาหรือรายวิชาเฉพาะที่สนใจศึกษาเชิงลึก สามารถร้างสรรค์ผลงานตามประเภทงานวิจิตรศิลป์และประยุกต์ศิลป์
  6.2 มีทักษะและประสบการณ์การใช้งานเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และซอฟท์แวร์ เพื่อสนับสนุนกระบวนการคิดออกแบบ เขียนแบบ กระบวนการผลิตและกระบวนหลังการผลิต โดยสามารถปรับประยุกต์ใช้สร้างสรรค์ผลงานและบูรณาการได้หลากหลายระบบตาม ศักยภาพและความพร้อม
  6.3 มีทักษะในการนำเสนอรายงาน การจัดแสดงผลงานและสร้างแฟ้มสะสมผลงานโดยใช้รูปแบบ วิธีการเครื่องมือ และระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสม
  6.4 มีทักษะในการออกแบบ ปฏิบัติ พัฒนา และนำเสนอ โครงงาน การพัฒนาทักษะวิชาชีพตามความสนใจ ความถนัด และตามวิถีระบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์

วันพฤหัสบดีที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

สัปดาห์ที่ 10 Typoyraphy Design : website design is..

website design is..
Website design is the planning and creation of websites. This includes the information architecture, user interface, site structure, navigation, layout, colors, fonts, and imagery. All of these are combined with the principles of design to create a website that meets the goals of the owner and designer.


แปลความหมายและสรุปโดย
นายอนวัช คงวิเชียร รหัสนักศึกษา 5211307862 กลุ่มเรียน 102 ARTI3319:Visual Communication Design Technology

Website Design is..
- การออกแบบเว็บไซต์คือการวางแผนและการสร้างเว็บไซต์ ซึ่งรวมถึงสถาปัตยกรรมข้อมูลส่วนติดต่อผู้ใช้โครงสร้างของเว็บไซต์, นำทาง, รูปแบบ, สี, แบบอักษรและภาพ ทั้งหมดเหล่านี้จะรวมกันกับหลักการของการออกแบบในการสร้างเว็บไซต์ที่เป็นไปตามเป้าหมายของเจ้าของและนักออกแบบ

วันจันทร์ที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2555

สัปดาห์ที่3 วิชาเทคโนโลยีเพื่อการออกแบบนิเทศศิลป์

- อธิบายเกี่ยวกับการใช้งาน Font Self และ การเรียนรู้ในวิชา
-Font Kerning -Bearing ชาน
-Font Foundry -Baseline
-Glyph รูปอักขระ -X Height
-Font Template -Cap Height
-Program Font -Asender
-Type Aranging -Descender

สอนเรื่ององค์ประกอบการออกแบบ Font และให้นักศึกษาทำ Font ไทย จาก Template ของ อาจารย์
และให้หา Font อังกฤษ มาเป็นต้นแบบในการพัฒนาให้เป็น Font ภาษาไทย

- สัดส่วนโครงสร้างมาตรฐานตัวอักษรไทยที่ราชบัณฑิตยสถาน

- สัดส่วนโครงสร้างมาตรฐานตัวอักษรลาตินหรือโรมัน

ที่มา http://arti3319.blogspot.com/2011/07/blog-post.html
- ออกแบบฟ้อนลายมืือจาก Fontself


สัปดาห์ที่ 2 วิชาเทคโนโลยีเพื่อการออกแบบนิเทศศิลป์

- ให้รายงานข่าวเกี่ยวกับเทคโนโลยี 3 คน และ
หลังจากนั้นได้ทำการทดสอบ Pre-test หรือ ทดสอบก่อนการเรียนเพื่อวัดความรู้ของนักศึกษา โดยทำการทดสอบที่ http://chandraonline.chandra.ac.th/dokeos/index.php












- อาจารย์ได้สั่งให้นักศึกษาหา Font อังกฤษ Free Font และสั่งให้ปริ้นออกมาเป็นแบบ มีอักษร H x p d ขนาด 1000 point บอกการใช้เว็บ chandraonline ว่ามีอะไรบ้างแก้ไขยังไงบ้าง
สมัคร http://www.fontself.com/ และ Fontstruct.com เพื่อไว้ใช้ในการออกแบบ ตัวอักษร และให้ทำการปริ้น Basegrid มาใช้ในการออกแบบตัวอักษร
- โหลด free fonts ที่ต้องการออกแบบโดย fonts นั้นยังไม่มีภาษาไทย จากนั้นปริ็นซ์ใส่กระดาษ A4 ทุกตัวอักษรขนาด 1000 pt. แล้วนำมาศึกษา(อ้างชื่อของผู้ออกแบบ) รวมทั้งศึกษา(HXPD:ขนาดมาตรฐาน)
ออกแบบสเก็ตมาคร่าวๆประมาณ 3-4 ตัว โดยให้ mat กับ fonts ภาษาอังกฤษ

วันศุกร์ที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2554

สัปดาห์ที่ 1 Typoyraphy Design : แนะนำการเรียนการสอน

สัปดาห์ที่ 1
การหาข่าว news (เทคโนโลยีที่ใช้ในการออกแบบ)
เริ่ม 13:15น. (3คนแรก)

ให้สมัคร
-blogspot
-google+/googleDoc
-issuu
-Dokeos e-learning

www.techsmith.com/downlonads/jing